ประวัติพระครูสวัสดิ์ธรรมพินิต(ท่านพ่อใย)

กล่องข้อความ: ถ่ายเมื่อ   ๒๕๓๕
กล่องข้อความ: คณะกรรมการมูลนิธิ
กล่องข้อความ: ประวัติพระครูสวัสดิ์ธรรมพินิต  
            เดิมชื่อใย  นามสกุล พงษ์มิตร  เกิดเมื่อวันเสาร์ที่  ๒๒  เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๔๔๕  ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๒  ณ  หมู่ที่ ๓ ตำบลพลับพลา อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี  บิดาชื่อนายมั่น  มารดาชื่อนางตอง  มีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน ดังนี้
	๑.  เป็นหญิงชื่อ เตียง พงษ์มิตร                   ๒. เป็นชายชื่อ ใย พงษ์มิตร 
	๓. เป็นชายชื่อ หย่อน  พงษ์มิตร                 ๔. เป็นชายชื่อ เยื่อ  พงษ์มิตร
	๕. เป็นชายชื่อ เหลือ  พงษ์มิตร                   ๖. เป็นชายชื่อ พรม  พงษ์มิตร
อุปสมบทที่วัดพลับพลา เมื่อวันที่  ๑๑  มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๖ เวลา ๑๕.๒๕ น. โดยมีพระธรรมวงศาจารย์ วัดโบสถ์ เมืองจันท์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแผน วัดพลับพลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแย้ม  วัดดอนตาล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่ท่านพ่อได้อุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และศึกษาแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่วัดพลับพลากับพระอาจารย์แผน
	กล่าวคือพระอธิการแผน เจ้าอาวาสวัดพลับพลาที่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้กับท่านพ่อนั้น เป็นพระที่ผ่านการศึกษาเล่าเรียนมาจากสำนักวัดแจง (วัดอรุณ) ฝั่งธนบุรี ครั้น เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับพลา  ท่านได้นำวิชาการความรู้ความสามารถทั้งทางโลกและทางธรรม พร้อมทั้งแบบอย่างของความเจริญที่ท่านได้รับในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕)   มาสร้างความเจริญให้กับชุมชนพลับพลา โดยการเปิดโรงเรียนสอนหนังสือด้วยแบบเรียนหลวงขึ้น  เช่นเดียวกับเด็กในพระนครหลวง  ซึ่งการเปิดสอนเริ่มแรกนั้น พระอาจารย์แผนเป็นผู้ดำเนินการสอนหนังสือให้กับเด็ก ๆ ด้วยตนเอง  นับได้ว่าพระอาจารย์แผนเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล ได้สร้างโอกาสที่ดีให้กับเด็กชนบท ซึ่งถ้าเราย้อนเทียบ พ.ศ.ไป ก็ตกอยู่ในช่วงพ.ศ.๒๔๔๒ ก่อนที่ท่านพ่อใยจะบวชเป็นเวลา  ๔  ปี
	จะเห็นว่า ท่านพ่อใยได้มีโอกาสพบกับครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  เป็นผู้อบรมบ่มนิสัยทางธรรมให้ แต่ท่านพ่อก็อยู่กับหลวงพ่อแผนได้เพียง  ๔  ปี หลวงพ่อแผนจึงถึงแก่มรณภาพ ในปี ๒๔๗๐ ด้วยความชราภาพ  หลังจากนั้นจึงศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์ป๋อ อินฺโท อันเป็นศิษย์รุ่นพี่ที่บวชในปี ๒๔๕๕ ก่อนท่าน พ่อใย ๑๑  พรรษา  และเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา 
	พระอาจารย์ป๋อ ท่านเป็นผู้ที่สนใจในด้านการศึกษาเล่าเรียน  เช่นเดียวกับครูอาจารย์ของท่าน จึงได้เปิดสำนักเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น และมองเห็นความรู้ความสามารถของท่านพ่อใย จึงมอบหมายภาระหน้าที่ให้ท่านพ่อใยเป็นผู้สอนพระปริยัติธรรม ให้กับพระเณรในท้องถิ่นนั้น  นับได้ว่าท่านพ่อใยเป็นครูผู้สอนพระปริยัติธรรมองค์แรกของวัดพลับพลา

           ณ วาระมงคลดลอีกครั้ง          ศิษย์ขอตั้งดวงจิตอธิษฐาน

เนื่องในดิถีสิริกาล                              ชนมานท่านพ่อนั้นครบวันดี

ปวงชาวจันท์จึงจัดงานการกุศล          บำเพ็ญทานมงคลดลสุขศรี

ยามท่านพ่ออายุได้เก้าสิบปี                 ศิษย์เปรมปรีดิ์ชื่นชมสมใจกัน

มีท่านพ่อคุ้มเกล้าพวกเราไว้               ให้ปลอดภัยพ้นโศกวิปโยคศัลย์

นิรทุกข์สุขใจไปทุกวัน                        อภิวันท์บูชาครูอาจารย์

สรวมอำนาจคุณพระศรีไตรรัตน์        ผ่องจำรัสเดชามหาศาล

คุณบารมีท่านสร้างมาช้านาน             ดลบันดาลให้ท่านเกษมเปรมฤทัย

เป็นที่พึ่งบรรดาสานุศิษย์                   ทั่วทุกทิศเขตแคว้นแดนไกลใกล้

มีศีลธรรมจรรยาทั่วหน้าไป               เทิดท่านไว้เหนือเกล้าชาวเมืองจันท์

                                                

                                                                สมเสริฐ  รัตนานนท์     ประพันธ์

 

  

กล่องข้อความ: นายขยัน  นายหมั่น  นายเพียร
กล่องข้อความ: ประวัติท่านพ่อใย
กล่องข้อความ: ภาพในอดีต
กล่องข้อความ: เรื่องเล่าวัตถุมงคล
กล่องข้อความ:     แต่ท่านพ่อ ก็อยู่ช่วยสอนพระปริยัติธรรมให้กับวัดพลับพลาได้ประมาณ  ๘  ปี   ขณะนั้นในปี  ๒๔๗๘  วัดมะขามได้ว่างเว้นจากเจ้าอาวาส   กล่าวคือหลังจากหมดบุญในปี ๒๔๕๔ของหลวงพ่อมิตรเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดมะขามแล้ว มีพระหลายรูปที่หมุนเวียนเปลี่ยนเข้ามาเป็นเจ้าอาวาส เช่น พระเทพ  พระจีน  พระจวง  ปุญฺญราศี  พระทวน  ธมฺมคงทอง  พระสมุห์เอิบ  จนฺทโชโต  พระลิ  อาทิจฺโจ   พระจันทร์  ถาวโร และ พระจ๊อด  เป็นต้น ซึ่งก็อยู่กันได้ไม่นาน  องค์ละปีสองปีเท่านั้น  จะด้วยเหตุอันใดไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้  ว่าทำไมจึงอยู่กันได้เพียงไม่กี่พรรษาก็ต้องมีอันเคลื่อนย้ายเปลี่ยนเจ้าอาวาสกันไป ทั้ง ๆที่วัดมะขามเป็นวัดซึ่งอยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ เป็นวัดซึ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความสะดวกในทุก ๆด้านแต่ทำไมเจ้าอาวาสจึงอยู่ได้ไม่ยาวนาน   พระครูนิเทศคณานุสิฏฐ์ เจ้าคณะอำเภอมะขาม เจ้าอาวาสวัดหนองอ้อในขณะนั้นมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นของวัดมะขาม ประจวบกับได้ยินกิตติศัพท์ชื่อเสียง ของพระหนุ่มที่ชื่อ “ ใย ” ว่ามีความรู้ความสามารถที่สูงเกินกว่าพระรูปอื่น ๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกันและเป็นครูผู้สอนพระปริยัติธรรม จึงได้มาขอความช่วยเหลือจากพระอาจารย์ป๋อ ขอนิมนต์ให้ “พระใย” ช่วยไปรักษาการเจ้าอาวาสวัดมะขามเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ของวัดมะขาม (เคยได้ยินท่านพ่อท่านเล่าให้ฟังว่าไม่ได้ตั้งใจจะมาอยู่ที่วัดมะขามนานหรอกมาเพื่อช่วยรักษาการให้เท่านั้น  เมื่อเขาแก้ปัญหาได้แล้วและหาเจ้าอาวาสได้ก็จะกลับไปวัดพลับพลาตามเดิม  แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ )
 ท่านพ่อใยอยู่ที่วัดพลับพลา ได้เพียง  ๑๒  ปี  แต่ก็ได้สร้างคุณูปการทางการศึกษาให้กับวัดพลับพลา  อันเป็นวัดบ้านเกิดของท่านไว้อย่างเหลือคณานับ ส่วนเวลาที่เหลือนั้นท่านพ่อได้มอบให้กับชาวอำเภอมะขามอย่างหาที่สุดมิได้ (คำว่าชาวมะขามในที่นี้ต้องหมายรวมเอาอำเภอเขาคิฌชกูฏทั้งหมดด้วย ) คนมะขามสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากและเต็มความภาคภูมิว่า “ท่านพ่อใย” เป็นพระมหาเถระที่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันประกอบด้วยความรู้ ความสามารถ ความเสียสละ ความเมตตาต่อผู้คนทุกฐานะทุกอาชีพ ไม่เลือกชั้นวรรณะ ให้ความเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ผู้คนมากหลายในจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียงในภาคตะวันออก ต่างมากราบขอพรจากท่านไม่ขาดสาย ทำให้ชื่อเสียงของวัดมะขามขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศในสมัยที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่  (จะกล่าวในส่วนนี้อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป)
 ท่านพ่อรักษาการอยู่ ๒ ปี จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมะขาม  ในวันที่  ๕  กรกฎาคม ๒๔๘๐  และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลมะขาม เมื่อวันที่  ๒๗  กรกฎาคม  ๒๔๙๑   สมณศักดิ์สุดท้าย  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอมะขามเมื่อวันที่  ๓๐  มีนาคม ๒๕๑๕  หลังจากการจากไปของพระครูนิเทศคณานุสิฏฐ์ เจ้าคณะอำเภอมะขาม เจ้าอาวาสวัดหนองอ้อ
                 ท่านพ่อใย ได้ละสังขารเมื่อวันที่  ๓  ตุลาคม  ๒๕๔๐  รวมศิริอายุได้ ๙๕ ปี  พรรษา  ๗๔ อุทิศชีวิตเป็นเวลา  ๖๒  ปีเพื่อพัฒนาวัดมะขามและสร้างคนให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรมอยู่ในกรอบของศีลธรรมตราบเท่าถึงทุกวันนี้